วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

Interactive(Week 3 UDL)


 Develops ประกอบไปด้วย     - Designer ( concept -> them -> content )     - Technologist     - Learning scientist (เช่น Lego )
Universal Design for learning guideline คือการออกแบบการเรียนรู้ซึ่งมีสิง่ที่สามรถดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ประกอบไปด้วย
1. Representation (การนำเสนอ) ซึ่งเป็นการนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เสียง ภาพ หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่สำผัสได้
2. Action & Expression  (การสื่อสาร) คือการให้โอกาสในการแสดงออกที่หลากหลาย ทั้งการใช้ร่างกาย การใช้คำพูด หรือการใช้การทำงานของสมองระดับสูง
3. Engagement (การผูกมัด) ในที่นี้หมายถึง การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้คนมาสนใจ



*ความรู้นอกเนื้อหา
        - สสส. พยายามให้คนที่ชมนิทรรศการแล้วมีการออกกำลังกายมากขึ้นโดยการให้เล่นเหยียบพื้นหรือการเดินขึ้นบันไดเป็นต้น
          - อาจารย์บุญรักษ์ เป็นอาจารย์ที่เก่งด้านเสียงมากๆซึ่งอาจเก่งที่สุดในประเทศเลยทีเดียว
          - หอไอเฟลที่ตั้งอยู่ในฝรั่งเศษปัจุบัน มีต้นแบบมาจาก  โตเกียวทาวเวอร์ที่ญี่ปุ่น
โตเกียวทาวเวอร์
หอไอเฟล

        - การแสดงนิทรรศการนานาชาติ (อังกฤษ: World 's Fair, World Fair, Universal Exposition และ Expo เป็นชื่อเรียกสั้น ๆของงานแสดง) เป็นชื่อของงานแสดงนิทรรศการที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถือว่าเป็นมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษย์อันดับ 3 ของโลก รองจากกีฬาโอลิมปิก และฟุตบอลโลก ชึ่งคนไทยรู้จักกันในชื่อ "เวิลด์ เอ็กซ์โป" หรือ "เวิลด์แฟร์" และมหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมี องค์การนิทรรศการนานาชาติ (BIE) เป็นองค์กรณ์ที่รับรองการจัดนิทรรศการนานาชาติ งานเอ็กซ์โปจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1851 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และจะจัดอย่างยิ่งใหญ่ ทุกๆ 5 ปี
สิ่งที่น่าสนใจในงานเวิลด์ เอ็กซ์โปนี้คือ ศาลาของประเทศต่างๆทั่วโลกที่เข้าร่วมงานนี้ ซึ่งแต่ละประเทศก็จะนำสิ่งที่น่าสนใจของประเทศตนนำมาแสดงโชว์ในงานนี้ด้วย
ทั้งนี้งานเวิลด์ เอ็กซ์โปครั้งล่าสุดจัดที่นครยอชู ประเทศเกาหลีใต้ ในระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม ถึง 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 โดยที่ประเทศไทยได้ประกาศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัด งานแสดงนิทรรศการนานาชาติ ปี 2020 อีกด้วย


วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

Interactive(สสส.)

       
          ในวันเสาร์ที่ผ่านมานี้ ( 25มค.57 ) ผมและเพื่อนๆอีกหลายๆคนได้นัดกันที่หน้ามอเวลาประมาณ10โมง เพื่อจะไปสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึงผมและเพื่อนผมเองไม่รู้ทางไปครับ รู้เพียงแต่ว่าอยู่แถวๆสาธรซอย1 จากนั้นเราก็แยกกันนั่งแท็กซี่ไป เวลาผ่านไปสักพักใกล้ถึงที่หมายแล้วแต่แท็กซี่กลับไม่รู้ว่าว่า สสส. นั้นอยู่ตรงไหน พวกผมจึงต้องพึ่งตัวช่วยอย่าง google map จนทำให้ถึงที่หมายในที่สุด


ตัวช่วยที่พาเรามาจนถึง สสส.



ชื่อผลงาน: เพื่อน
            เมื่อเข้ามาถึงก็นั่งรอเพื่อนๆจนมาครบกันหมดโดยระหว่างนั่งรอนั้น       ก็ได้เห็นว่าที่นี่มีบรรยากาศที่ดี สะอาด สวยงาม และมีสถาปัตยกรรมหลาก         หลายแบบทำให้ตื่นเต้นอยู่ไม่น้อย







ชื่อผลงาน: ความสุข 365 วัน
            ซึ่งเมื่อมากันครบแล้ว ได้เจอคุณลุงท่านหนึ่งเค้าได้บอกถึงราย       ละเอียดต่างๆของอาคารหลังนี้ ซึ่งคุณลุงได้บอกว่าอาคารหลังนี้ใช้         เวลาในการออกแบบและสร้างนานมากๆเพราะต้องการออกแบบให้ช่วย     เรื่องสุขภาพมากที่สุด เช่น การรณรงค์ให้เดินขึ้นบันใดแทนการใช้ลิฟ       หรือการสร้างห้องน้ำในแต่ละชั้นอยู่ไม่ตรงกันเพื่อเป็นการเพิ่มระยะ           ทางในการเดินนั่นเอง และอาคารหลังนี้ยังมีเพดานที่เป็นแผงโซล่า           เซลล์ซึ่งช่วยลดการให้พลังงานได้อีกด้วย


ชื่อผลงาน: ขณิกสมาธิ
 อุปปาจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ

ต้นไม้แห่งความดี
Functional Sculpture


         มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ เมื่อเราทุกคนพร้อมแล้วจึงได้เดินเข้าไปภายในห้องแรกมีชื่อห้องว่า Start with ME " เริ่มต้นที่ตัวเรา " ซึ่งภายในห้องนี้ จะสื่อถึงการที่คนเราจะเลือกเชื่อ เลือกฟังทำตามเสียงของตัวเองหรือไม่ เป็นการเริ่มเปิดประเด็นทำให้ฉุกคิดได้ดีทีเดียวครับ
Start with ME

       ห้องที่สองมีชื่อว่า Together WE Can " ร่วมคิดร่วมสร้าง "เป็นห้องมีความหมายว่าเมื่อเราทำสิ่งดีๆไม่ใช่เพียงเราเท่านั้นที่จะได้อะไรดีๆกลับมา แต่สังคมรอบๆตัวเราจะดีตามไปด้วย

Together WE Can

Let's go GREEN

    

            ห้องต่อไปเป็นห้องที่พยายามนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆที่สามารถอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว และในห้องนี้มีความน่าสนใจที่นำเสนอสิ่งต่างๆด้วย Interactive หลายๆอย่าง

   




หลอดแก้วนำแสง
             


              จากนั้นเราได้ลงไปดูหลอดแก้วนำแสงที่ชั้นใต้ดินซึ่งหลอดแก้วนำ       แสงนี้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีทีเดียว



ความสุขอย่างง่ายดาย 
  

         

      หลังจากขึ้นมาจากชั้นใต้ดินแล้วเราได้ขึ้นไปดูโต๊ะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถ ทัชสกรีนได้โดยโต๊ะนี้ยังแฝงเกร็ดความรู้ต่างๆเอาไว้อีกด้วย
      ต่อมาเมื่อเราขึ้นไปชั้นบนสุดจะเห็นได้ว่ามีห้องออกกำลังกายที่หรูมากและเมื่อเดินถัดไปอีกหน่อยจะเจอกับหุ่นรูปปั้นที่มีชื่อว่า " ความสุขอย่างง่ายดาย "ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสวนผักที่นี่ ซึ่งเป็นอะไรที่แปลกตาเมื่อมีตึกที่สวยงานกลับมีผักสวนครัวอยู่หลากหลาย ข้อสังเกตของชั้นบนสุดนี้คือเปิดโล่งเพื่อให้รับแสงรับลมได้ดีมากๆเหมาะแก่การทำสวนเป็นอย่างยิ่ง ( แต่หากฝนตกคงจะแย่เอาเเหมือนกัน) และสวนผักที่นี่ยังรีไซเคิลน้ำล้างมือใช้รดน้ำผักเพื่อเป็นการลดใช้พลังงานอีกทาง


ฟินกันแดด
  
         สุดท้ายเมื่อใกล้จบการดูงานแล้วเราได้    เจอกับสิ่งที่น่าสนใจอีกหนึ่ง       อย่างคือแผงกันแดดที่สามารถหมุนเพื่อ  บังแดดไม่ให้ความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร   มากเกินไปทำให้แอร์ทำงาน  น้อยลง




วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

Interactive(Week 2)

         หลังจากการเรียนในสัปดาแรกผ่านไปซึ่งเป็นการ Intro ว่า Interactive นั้นคืออะไร สัปดาห์นี้เหมือนเป็นการเรียนอย่างจริงจังเป็นสัปดาห์แรก ซึ่งเมื่อเริ่มเรียนอาจารย์ก็สปี๊กเป็นภาษาอังกฤษทันที แอบกลัวนิดหน่อยครับตอนแรกแต่พอฟังๆไปแล้วดูสไลด์ไปเรื่อยๆ ก็ไม่ค่อยเข้าใจหรอกครับเพราะอ่อนอังกฤษเป็นปกติอยู่แล้ว 555 แต่ก็พอจับใจความได้บ้าง ในคาบเรียนนี้มีเพื่อนที่มาจากภาคมัลติมีเดียมา sit-in ด้วยซึ่งกล้ามากๆ เพราะมาเพียงคนเดียว 

         เนื้อหาในคาบเรียนนี้มีเนื้อหาที่สอนประมาณว่า interactive นั้นประกอบด้วย software และ hardware ซึ่งอาจประกอบขึ้นจาก embedded , circuit , programming และยังประกอบด้วยความคิดสร้างสรรและศิลปะที่ทำให้สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถตอบโต้กับมนุษย์อย่างมีความน่าสนใจ นอกจากนี้ยังยกตัวอย่างถึง Museum siam ที่มีการจัดแสดงจำพวก inter active ต่างๆ และยกตัวอย่างด้านการแสดงที่อาจนำ interactive ไปพัฒนาได้เช่นการติดเซนเซอร์บนตัวละครที่ทำการแสดงเพื่อสังเกตการเคลื่อนไหว อาจารย์ได้ยกตัวอย่างโรงละครที่น่าสนใจคือโรงละครช้าง ซึ่งมีผู้แสดงละครที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศคือคุณ Pichet Klunchun อีกด้วย หลังจากนั้นได้มีเพื่อนภาคมัลติมิเดียพูดถึงคำว่า Imagineering ซึ่งอาจารย์ก็ได้อธิบายเสริมว่าหมายถึงคำว่า imagine+ engineer และอาจารย์ก็ยังพูดถึงการทำงานกับคนสายงานอื่นที่ต้องทำงานร่วมกันเมื่อออกไปทำงานจริงว่าต้องใช้ภาษาที่คนไม่รู้เรื่องด้านเทคโนโลยี ฟังแล้วสามารถเข้าใจได้หรือไม่ก็ใช้ VDOประกอบเพื่อช่วยให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น



ตัวอย่าง การแสดงของคุณ Pichet Klunchun
 Pichet Klunchun



....................................................................................................................................