วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โรงละครช้าง

Chang Theatre
         โรงละครช้างหรือ Chang Theatre เป็นโรงละครของคุณพิเชษฐ์ กลั่นชื่น ซึ่งอยู่ละแวกประชาอุทิศ 61นี่เอง แต่ทางเข้าค่อนข้างลึกและลำบากพอตัว เพราะก่อนวันที่จะไปมีฝนตกทำให้ก่อนทางเข้าโรงละครมีน้ำขังอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ

         จากที่ผมฟังคุณพิเชษฐ์ กลั่นชื่นให้สัมภาษณ์ในรายการไทยเท่ คุณพิเชษฐ์ บอกว่าที่จัดตั้งโรงละครช้างในที่แบบนี้เพราะเมื่อก่อนนั้นแถวนี้มียาเสพติดเยอะ คุณพิเชษฐ์จึงมีความคิดที่อยากจะนำความเจริญเข้ามาเผื่อจะมีอะไรๆดีขึ้นได้บ้าง
          ประเด็นที่เรามาที่นี่ในวันนี้คือการมาดูการแสดงเพื่อนำไปออกแบบการทำงานในโปรเจ็คร่วมกันของทางวิชา Interactiveกับโรงละครช้าง ซึ่งจะเป็นงานแนวในการออกแบบให้ชุดสามารถบังคับการติดดับของไฟเพื่อแสดงออกถึงอารมณ์ของนักเต้นได้
      โดยเมื่อได้เจอกับคุณพิเชษฐ เริ่มประโยคแรกด้วยคำพูดที่ว่า “ไฟไม่ใช่แค่ให้แสงสว่าง แต่ให้ความหมาย ถ้าเราทำได้นั่นเรียกอาร์ตติส แต่ถ้าแค่ใช้เพื่อเกิดแสงสว่างนั่นเป็นแค่ช่างไฟทั่วไป”  ซึ่งยังกล่าวต่อไปอีกว่าการใช้แสงนั้นมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยมีความซับซ้อนและสื่อความหมายต่างๆ ทำให้สามารถสื่อถึงอารมณ์ต่างๆได้มากยิ่งขึ้นโดยแสงนั้นสามารถทำให้เข้าเข้าถึงอารมณ์ได้หลากหลายเช่น กลัว ,ลึกลับ,สนุก,ตื่นเต้น เป็นต้น
          
       ในการแสดงของคุณพิเชษฐ์ในปัจจุบันนั้น คุณพิเชษฐ์บอกว่ายังมีสิ่งที่อยากให้คนดูเห็นแต่คนดูยังไม่สามารถมองเห็นและรับรู้ความรู้สึกบางอย่างได้ซึ่งหวังว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยีที่ช่วยในการส่งต่ออารมณ์เหล่านี้ผ่านไปยังผู้ชม ซึ่งมี  3 อย่างด้วยกัน คือ
1. คนดูไม่สามารถมองเห็นพลังงานบางอย่างของนักแสดงได้
2. คนดูไม่เห็นการทำงานของกล้ามเนื้อนักแสดงได้
3. คนดูไม่เห็นความเหนื่อยของนักแสดงไปพร้อมกับลมหายใจ
        หลังจากนั้นได้มีการแสดงในส่วนของบทละครที่จะมีการนำชุดที่ติด LEDมาใช้เพื่อให้สามารถคุยและตกลงขอบเขตของงานได้ว่าต้องใช้อะไรบ้างเพื่อให้สื่ออารมณ์ของนักเต้นออกไปให้คุณดูให้มีความรุนแรงยิ่งขึ้นบ้าง
       โดยก่อนการแสดงผมได้คิดว่าการเต้นของคุณพิเชษฐ จะเป็นแบบนึงแต่พอเอาเข้าจริงแล้ว งงครับ แต่พอเข้าใจว่าสื่ออะไรอยู่บ้าง แต่พอหลังจากการเต้นจบแล้วคุณพิเชษฐเล่าเรื่องให้ฟังคร่าวๆแล้วก็พอเข้าใจครับว่าที่ดูผ่านมาทั้งหมดคืออะไร
       ความรู้สึกของผมหลังจากได้ดูการเต้นของคุณพิเชษฐ คือเหมือนการได้เปิดโลกทัศน์ใหม่เลยครับเพราะไม่เคยดูอะไรแบบนี้มาก่อน จึงไม่ค่อยเข้าใจการสื่อความหมายมากนัก แต่เป็นอะไรที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่ผมก็ยังแอบกังวลใจในเรื่องการทำโปรเจ็คเพราะมีขอบเขตงานที่มากอยู่พอสมควร แต่เวลาที่จะใช้ทำโปรเจ็คนั้นเหลือไม่มาก แต่เมื่อคุณพิเชษฐได้พูดว่าหากมันทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ผมจึงโล่งใจได้นิดหน่อย แต่อย่างไรก็ตามก็อยากทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จเพราะงานชิ้นนี้เป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับนักศึกษาวิศวะอย่างผม ที่ต้องทำงานร่วมกับนักเต้น ซึ่งหวังหว่าคงจะสร้างอะไรที่แปลกใหม่และทรงคุณค่าขึ้นได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น