วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

Interactive(week11 Physical Computing & consult Full Project with P'Ohm)


            วันนี้เป็น class แรกหลังจากปิดยาวช่วงสงกรานต์ ซึ่่งวันนี้เป็นวันที่พวกเรานัดว่าจะทำการพรีเซนต์งาน Project Prototype ซึ่งก่อนที่จะทำการพรีเซนต์งานนั้น อาจารย์ได้สอน lecture สุดท้ายของ class เรียนโดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Physical Computing

            Physical Computing คืออะไร? ถ้าตอบแบบกว้างๆ ก็คือ การสร้างระบบหรืออุปกรณ์เครื่องมือ (Hardware) และโปรแกรม (Software) เพื่อติดต่อและโต้ตอบกับโลกภายนอกได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น ทีวี ไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า ฯลฯ ซึ่่งหากมองถึงวิชา Interactive นี้แล้วคงหนี Physical Computing ไม่พ้นแน่ๆ แต่หากการ interac นี้ไม่ได้เกี่ยวกับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เจอในชีวิตประจำวัน แต่เป็นการออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆที่สามารถทำงานโต้ตอบกับมนุษย์ได้ โดยความลับของการตอบโต้นี้คือ การใช้ sensor ต่างๆรับผลของการกระทำที่เปลี่ยนไปของมนุษย์แล้วเข้าไปประมวลผลผ่าน ตัว microcontroller ว่าจะตอบโต้กลับไปเช่นไร 
Physical computing
การ Transduction Energy ของคนไปเป็น Electric Signal

                 ในคาบเรียนนี้ได้พูดถึงการที่อุปกรณ์ต่างๆสามารถ Stand alone ได้ ซึ่งหมายถึงว่าอุปกรณ์ต่างๆสามารถประมวลผลและแสดงผลออกมาได้ด้วยตัวของมันเอง โดยหลักที่สำคัญคือ พกพาได้สะดวกเพราะในปัจจุบันการนำ Physical Computing มาติดกับเสื้อผ้าก็เป็นสิ่งที่กำลังเป็นที่นิยมมาก ซึ่งโดยการทำงานหลักๆของตัว Microcontroller นี้คือเป็นตัวประมวลผลที่สามารถเย็บติดเสื้อผ้าได้หรือสิ่งต่างๆได้ เช่น Lilypad arduino ซึ่งงานของเจ้า Lilypad  นี้คือการประมวลผลว่าจะแสดงผลต่างๆอย่างไร ซึ่งหลักสำคัญไม่ได้อยู่ที่การประมวลผลอย่างมากมายมหาศาล แต่หลักของมันคือพกพาได้สะดวก และสามารถเย็บติดกับอะไรก็ได้ เท่าที่ผมอ่านมา เจ้า Lilypad นี้สามารถนำไปซักได้โดยไม่เสียอีกด้วย
Lilypad Arduino



             อีกเรื่องนึงที่อาจารย์ได้พูดถึงในคาบเรียนนี้คือ Design pattern Software Architecture เป็นการพูดถึงหลักการออบแบบโครงสร้างของ software ให้สามารถใช้งานได้ง่ายโดยหลักของมันคือให้คนที่อยากเรียนรู้สามารถเรียนรู้การใช้โปรแกรมได้ง่าย ซึ่ง Arduino bord ก็มีโครงสร้างของ software ที่ออกแบบให้ใช้งานง่าย โดยได้รับการออกแบบจาก artist ทำให้ผู้ที่เรียนรู้การใช้โปรแกรมนี้สามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ยากเกินไป

เกร็ดความรู้
โดยทั่วไปแล้ว engineer จะมีหลักความคิดโดยด้วยการมีหลักการและคิดถึงฟังก์ชันการทำงานต่างๆ แต่หาก engineer สามารถผสมความ art เข้าไปโดยคิดถึงหลักการ activity จะทำให้สิ่งประดิษฐ์เดิมๆดูมีอะไรมากยิ่งขึ้นตัวอย่างเช่น การสร้างหุ่นยนต์ให้สามารถตอบโต้กับคนได้ + ตุ๊กตาน่ารักๆ จึงได้ตุ๊กตาที่สามารถโต้ตอบกับคนได้เช่น ตุ๊กตาเฟอบี้นั่นเอง ซึ่งตุ๊กตาเฟอบี้นี้ก็ได้นำหลักการนี้มาใช้เช่นกัน
เฟอบี้ - หลักการของ engineer + หลักความอาร์ตของศิลปิน

       ต่อจากการเรียนในคลาสแล้ว AM:PM ของเราได้ทำการพรีเซนต์ Project prototype ในคลาสเรียนซึ่งก็ผ่านไปด้วยดี โดยอาจารย์ได้บอกว่าให้ทุกกลุ่มนั้นไปปรึกษาโปรเจคกับพี่โอห์ม เพื่อทำการออกแบบ story ของงานและออกแบบวงจรให้ดีขึ้น ซึ่งในเย็นวันถัดไปกลุ่มของเราก็ได้เข้าไปปรึกษาพี่โอห์มที่ตึก Inovation ชั้น 11 ซึ่งในวันนั้นพี่โอห์มก็ได้ให้เราเลือกระหว่าง เปลี่ยนจาก LDR เป็น IR sensor เพราะการใช้ LDR นั้นเมื่อเปลี่ยนห้องเปลี่ยนแสง จะทำให้วงจรของเรานั้นรวน ต้องทำการเซ็ตค่าใหม่ทุกครั้ง แต่ก็ยังติดปัญหาอีกว่าหากใช้ IR sensor แล้วเมื่อนำอะคิริคมาบังเพื่อทำเป็นโต๊ะแล้ว IR sensor จะอ่านค่าผิดเพี้ยนไปหรือเปล่า หรือจะเลือก ใช้ LDR เหมือนเดิมโดยปรับการจัดแสงและจัดการรับแสงของตัว LDR ให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเราหาข้อมูลแล้ว IR sensor สามารถมีวัตถุอื่นที่ไม่มีชีวิตมาบังได้โดยไม่ทำให้ค่าผิดเพี้ยนไปทำให้เราเลือกที่จะใช้ IR sensorครับ


       เมื่อทำการสรุปแล้วกลุ่มเราจะเปลี่ยนเป็นไปใช้ IR sensor แทนและทำการเปลี่ยน LED จากหลอดปกติเป็น Led strip โดยคอนเซ็ปของกลุ่มเราจะทำเป็นโต๊ะกาแฟที่มีการ interac กับผู้ใช้ โดยพี่โอห์มยังแนะนำอีกว่าให้แสดงการติด-กับของ LED ให้ smooth มากกว่านี้ หมายถึงการเซ็ตให้ LED ติดแบบแรนดอมบริเวณที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการเคลื่อนไหว ไม่ใช่แค่ติด- ดับเฉยๆที่ดวงเดิมๆเพราะจะดูแข็งเกินไป โดยโต๊ะกาแฟนี้มีขนาดประมาณ ฟุตครึ่ง กลุ่มเราจึงได้เสนอพี่โอห์มว่าบอร์ดใหม่ของเราจะแบ่งเป็น 4 ส่วนแล้วนำมาต่อกันทีหลัง เพื่อให้การทำงานของเราเป็นไปได้สะดวกขึ้น(ไม่ใหญ่เกินไป) และยังสะดวกต่อการนำไปให้ชาวเขาอีกด้วย ซึ่งพี่โอห์มก็ได้รับทราบและเห็นด้วยกับความคิดของกลุ่มเราครับ

LED strip
IR sensor





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น