วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

Go to TCDC “Hello World!” Exhibition

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
Thailand Creative & Design Center (TCDC)
   
        TCDC คือศูนย์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนกลางย์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ให้กับสังคมไทย โดยผ่านกระบวนการให้ความรู้ความเข้าใจแบบสากล เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้  ซึ่งสถานที่แห่งนี้ผมได้เดินทางไปเนื่องจาก class เรียน Interactive ของผมอยากให้ไปดูนิทรรศการที่ให้ประสบการณ์ทางด้านการออกแบบความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่และดูการออกแบบ Museum จากที่ TCDC อีกด้วย

        วันที่ 13 มีนาคม 2557 เวลาประมาณบ่ายโมงผมและเพื่อนๆอีก 6 คนได้เดินทางไป TCDC โดยติดรถอาจารย์จูนไป ซึ่งระหว่างนั่งรถไปอาจารย์ก็ได้ชวนคุยถึงเรื่อง Image Processing เพราะเพื่อนคนอื่นๆบางคนได้ลงวิชาเลือกไว้ด้วย แต่ผมฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจซักเท่าไร เพราะส่วนมากจะเป็นศัพท์เทคนิค
เมื่อเดินทางไปถึงแล้วพวกผมก็ได้เดินขึ้นไปยัง TCDC ซึ่งก่อนทางนั้นเป็นโรงหนังทำให้เพื่อนๆบางส่วนตกลงกันว่าจะดูหนังกันหลังดูนิทรรศการเสร็จ ระหว่างที่ต้องรอให้ถึงบ่ายสองโมงซึ่งเป็นเวลาที่ class เรานัดกันพวกผมก็ได้เดินดูหน้านิทรรศการและถ่ายรูปเล่นกัน
คอนเซ็ป "เหมือนหรือต่าง"

ภาพแรกที่ถูกนำเสนอ "โลกกับเรา"


          เมื่อเราได้เข้าไปในนิทรรศการแล้วส่วนแรกที่ถูกนำเสนอคือส่วนที่มีคอนเซ็ปว่า"เหมือนหรือต่าง" ซึ่งมีความหมายว่าการที่เราจะดีไซน์อะไรออกมานั้นจะต้องนึกถึงพฤติกรรมต่างๆของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เพราคนนั้นมีอยู่หลากหลายประเภทแต่ต้องมารวมตัวกันอยู่เป็นสังคม ซึ่งแต่ละคนนั้นบางคนมีจุดที่เหมือนกันและบางคนมีจุดที่แปลกแยกออกไปซึ่งในที่นี่ได้นำเสนอเรื่องราวของเมืองในนิวยอร์กเป็นการแสดงตัวอย่างคอนเซ็ปนี้

           โซนถัดมาของนิทรรศการที่ถูกนำเสนอคือ "บิด ปรับ แปลง" ซึ่งหมายถึงการดีไซน์สิ่งต่างๆให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป หรือพัฒนาการออกแบบให้ดีขึ้น โดยการบิดหมายถึงการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย การปรับหมายถึงเปลี่ยนบางส่วนและการแปลงหมายถึงการเปลี่ยนไปจากของเดิมบ้างโดยทั้ง 3 คำนี้หมายถึงการพัฒนาให้เข้ากับสถานการณ์หรือพัฒนาให้ดีขึ้นทั้งสิ้น

ตัวอย่างของการ บิด ปรับ แปรง


ชุดทหารที่ถูกปรับเปลี่ยนให้อำพรางตัวได้ดีขึ้น



การปรับแฮมเบอเกอร์ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้ทานได้ง่ายขึ้น


คิทแคทที่มีการปรับเปลี่ยนรสชาติให้ถูกปากคนกินมากยิ่งขึ้น

เหล้าที่หมักจากข้าวของคนไทยแต่ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นสไตล์ญี่ปุ่น

ป้ายที่ถูกออกแบบมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 

        โซนถัดไปเป็นโซนที่นำของธรรมดาๆที่นำมาใส่เรื่องราวต่างๆจนทำให้สิ่งของธรรมดานั้นมีคุณค่ามากกว่าเดิมเช่น
การสร้างหอไอเฟลในสถานที่ใหม่ทำให้ในบริเวณนั้นนิยมเป็นที่ถ่ายรูปแต่งงาน

รองเท้าคอนเวิสธรรมดาที่ดัดแปลงให้มีลายคิตตี้

การสร้างเป็ดลอยน้ำขนาดใหญ่ ที่ทำให้คนที่ได้เห็นนั้น คิดถึงความสุขในวัยเด็ก

การทำหมึกที่ใส่กลิ่นลงไปทำให้ได้อารมณ์ที่แตกต่างเวลาเขียน

การสร้างโคมไฟด้วยของเหลือใช้แต่ใส่ story และความคิดสร้างสรรค์ลงไปลงไปทำให้เพิ่มคุณค่าและน่าเก็บสะสม

นำความเก่าผสมความใหม่ทำให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

3D printer-สามารถนำไปพัฒนาต่อ ซึ่งในอนาคตอาจสร้างของที่ใช้ได้ โดยสามารถนำไปใช้งานจริงๆได้ทันที
        โซนสุดท้ายของนิทรรศการมีชื่อว่า โลกที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นการทำลายข้อจำกัดและเชื่อมทุกคนเข้าหากันซึ่งจะก่อให้เกิดการเข้าถึงกัน เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความเท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้นครับ
โลกที่เป็นหนึ่งเดียวกัน


การเพาะเซลล์เนื้อวัวแทนการเลี้ยงเนื้อวัวเพื่อช่วยลดก๊าซ CO2 จากการเลี้ยงวัว


โคคาโค่า-โครงการที่นำยารักษาโรคใส่รวมไปกับน้ำอัดลมเพื่อช่วยด้านขนส่งให้เข้าถึงในถิ่นทุรกันดาร


หุ่นยนต์ดินสอ-เป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเพื่อนและคอยดูแลผู้สูงอายุ

ที่เขียนคิ้ว-การหันมาดูแลตัวเองมากขึ้นของผู้ชาย

วีซ่า-การให้ความเท่าเทียมกันของเพศต่างๆที่มากกว่าเพศชายและหญิง
       หลังจากออกมาจากนิทรรศการแล้วพี่วิทยากรได้บอกพวกเราว่าเมื่อเราเรียนสายวิศวกรรมที่สามารถออกแบบสิ่งต่างๆและสร้างมันขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญที่เราควรจะมีเพื่อทำให้คนอื่นสนใจงานของเราที่ได้คิดค้นนั่นคือการ Presentation ซึ่งเราควรฝึกเป็นทักษะติดตัวเอาไว้
 
       การมา TCDC ในครั้งนี้ของเรายังได้ไปชมห้องสมุดที่ทันสมัยของที่นี่อีกด้วย โดยเราสามารถเข้าไปชมฟรีได้ 1 ครั้งซึ่งปกติที่นี่จะต้องเสียเงิน เมื่อพวกผมได้เดินเข้าไปภายในห้องสมุดบรรยากาศภายในสำหรับผมแล้วรู้สึกเหมาะสำหรับการนั่งทำงานหรือนั่งอ่านหนังสือมากเพราะ โล่ง โปร่ง สบาย สถานที่สวยงามและเสียงไม่ดัง แถมยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากมายเช่น ในการยืมหนังสือจะมี shelves browser เพื่อความสะดวกในการหาหนังสือ และยังมีที่คั่นหนังสือที่ไม่ธรรมดา เพราะมันสามารถบันทึกชื่อหนังสือที่เรายังอ่านไม่จบโดยสามารถบันทึกหน้าที่เราอ่านถึงได้อีกด้วย และยังมีห้องสำหรับดูหนังซึ่งผมอยากเข้าไปลองใช้มากเพราะห้องดูแปลกตาและทันสมัยมาก

     และห้องสุดท้ายที่ได้ไปในวันนี้คือห้อง Material ConneXion ซึ่งเป็นห้องสมุดที่เก็บวัสดุเอาไว้มากมายเพื่อทำการจัดแสดงคุณสมบัติต่างๆของวัสดุหลากหลายชนิด โดยบางวัสดุอาจเป็นวัสดุที่มีอยู่ทั่วไปแต่อาจถูกปรับปรุงแก้ไขไปใช้ในแนวคิดหรือทำในสิ่งที่ต่างออกไปโดยวัสดุที่จะมาอยู่ในห้องนี้ได้จะต้องมีคุณลักษณะ -> เพื่อสิ่งแวดล้อม เชิงอุตสาหกรรมและนวัตกรรมใหม่



เพิ่มเติม
       หลักการออกแบบจากคุณพิชิตซึ่งเป็นวิทยากรที่บรรยายการออกแบบ Museum ซึ่งได้อธิบายให้กลุ่มคนที่ไป TCDC อีกกลุ่มหนึ่งฟัง ซึ่งอาจารย์ได้มาเล่าให้ฟังคือ การออกแบบในตอนแรกนั้นจะมีคอนเซ็ปหรือธีมงานอยู่จากนั้นจะทำการ reserch หรือหาข้อมูลออกไปในวงกว้างให้มากที่สุดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเมื่อพอใจกับการค้นหาแล้วให้ทำการกรองเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวของกับงานของเราเท่านั้นซึ่งจะได้ผลงานออกมาโดยผลงานที่ได้ออกมานั้นอาจจะใหญ่กว่าที่คิดไว้ตอนแรกเพราะมีความรู้เกี่ยวกับงานมากขึ้น

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น